Research paradigm คือ “กลุ่มของความเชื่อและข้อตกลงที่มีร่วมกัน ระหว่างนักคิดในศาสตร์ ว่าควรถูกเข้าใจอย่างไร ถูกวางตำแหน่งไว้ตรงไหน” (Kuhn, 1962)
องค์ประกอบของ Research Paradigm
ตามแนวคิดของ Guba (1990), การอธิบายลักษณะของ research paradigms ขึ้นอยู่กับ:
- Ontology (ภาวะวิทยา) – อะไรคือความรู้ ความรู้เกิดจากอะไร?
- Epistemology (ญาณวิทยา) – เราจะเข้าถึงความรู้ได้อย่างไร?
- Methodology (วิธีวิทยา) – เราจะใช้วิธีไหนเข้าใจความรู้?
แผนภาพด้านล่างนี้ใช้สำหรับอธิบายและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อความด้านบน:
ทำไม Research paradigm ถึงสำคัญ
ภาวะวิทยาและญาณวิทยาที่เราเลือก จะสร้างมุมมองแบบองค์รวม (a holistic view) ว่าความรู้จะถูกมองยังไง เรามองว่าความรู้นั้นมันสัมพันธ์กับตัวเราอย่างไร และจะบอกเราว่าเราควรใช้กลยุทธ์เชิงกลวิธีอันไหนมาทำความเข้าใจความรู้นั้น การตระหนักรู้เกี่ยวกับความเชื่อของปรัชญาการวิจัย จะทำให้งานวิจัยมีคุณภาพ และนักวิจัยมีความคิดที่สร้างสรรค์มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นคุณอาจถูกคาดหวังให้อธิบาย พูดถึง(ความเชื่อของปรัชญาการวิจัย) เมื่อคุณนำเสนอผลการวิจัยออกมา
งานวิจัยของฉันเหมาะกับกระบวนทัศน์การวิจัยแบบไหนแบบไหน?
Positivists เชื่อว่าความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว สามารถรู้และวัดได้ ดังนั้นจึงมักใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อเข้าถึงความจริง
Constructivists เชื่อว่าไม่มีอะไรที่เป็นความจริงแท้ๆเพียว ความจริงเกิดจากการตีความของแต่ละคน ดังนั้นจึงมักใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อเข้าถึงความรู้ ความจริงที่หลากหลาย.
Pragmatists เชื่อว่าความจริงเกิดจากการพูดคุยกัน ถกเถียงกัน ตีความร่วมกัน ดังนั้นวิธีการที่จะเข้าถึงความจริงที่ดีที่สุด คือวิธีการที่ใช้ตอบคำถามได้ (คือต้องเลือกให้ให้เหมาะสมกับคำถามที่ตั้ง)
กระบวนทัศน์(Paradigm) | ภาวะวิทยา (Ontology) อะไรคือความจริง | ญาณวิทยา (Episemology) | แนวทัศน์ทางทฤษฎี (Theoretical Perspective) | วิธีวิทยา (Methodology) | วิธีการ (Method) |
ปฏิฐานนิยม (positivism) | ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว | ความจริงสามารถวัดได้ ด้วยเหตุนี้จึงมุ่งความสนใจไปที่ความเชื่อถือได้และความถูกต้องของเครื่องมือที่ใช้วัด | · ปฏิฐานนิยม(Positivism)
· หลังปฏิฐานนิยม (Post-positivism) |
· การวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Research)
· การวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) |
มักเป็นเครื่องมือของพวกวิจัยเชิงปริมาณ เช่น การสุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์สถิติ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม (focus group) เป็นต้น |
Constructivist / Interpretive | ไม่มีความจริงไหน จริงแท้ ความจริงถูกสร้างขึ้นด้วยปัจเจกบุคคลแต่ละคน | ความจริง ต้องนำมาตีความอีกทอดหนึ่ง เพื่อที่จะได้รู้ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังความจริงนั้นๆ | การตีความ (ความจริงต้องถูกตีความ) ผ่านทฤษฎีต่างๆ เช่น
· ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) · ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์นิยม (Symbolic Interactionism) · อรรถปริวรรตศาสตร์(Hermeneutics) |
· ชาติพันธุ์วรรณา (ethnography)
· ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) · การวิจัยเชิงปฏิบัติ (action research) · การวิจัยเชิงปรากฏการณ์(Phenomenological Research) · แนวคิดการสืบค้นด้วยตนเอง (Heuristic Inquiry) · การวิเคราะห์วาทกรรม · เฟมินิสต์ · การวิจัยเชิงจุดยืนรายบุคคล (Standpoint Research) |
มักใช้วิธีของการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก, การสังเกตการณ์ อย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation), การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation), Case Study, เรื่องเล่ามุมมองเชิงภาพ(Narrative) |
ปฏิบัตินิยม (Pragmatism) | ความจริงเกิดจากการถกเถียง พูดคุย ตีความ เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ | วิธีที่ดีที่สุดคือวิธีที่ใช้ตอบคำถามได้ ต้องลองเรื่อยๆ แล้วเลือกอันที่เหมาะสมที่สุด | · ปฏิบัตินิยมแบบดิวอี้ (deweyan pragmatism)
· การออกแบบการวิจัย (research through design) |
· การวิจัยเชิงปฏิบัติ (action research)
· การวิจัยแบบผสม (Mixed methods) |
เอาวิธีด้านบนมารวมๆกัน โดยเลือกวิธีที่เหมาะสม |
จิตวิสัย (Subjectivism) | ความจริง คือสิ่งที่เราเข้าใจว่าจริง คนอื่นอาจเข้าใจไม่เหมือนเรา | ความจริงทั้งหมดเป็นเรื่องของมุมมองของแต่ละคน | · หลังสมัยใหม่นิยม (Postmodernism)
· โครงสร้างนิยม (Structuralism) · หลังโครงสร้างนิยม · (Post-structuralism |
· วาทกรรมศึกษา
· โบราณคดีศึกษา · วงศาวิทยา (genealogy) · Deconstructionism |
· วิจัยตนเอง(Autoethnography)
· สัญศาสตร์ (semiotics) · วิเคราะห์บทประพันธ์ (Literary Analysis) · งานเชิงลอกเลียนแบบ Pastiche) · สัมพันธบท (Intertextuality) |
แนววิพากษ์ (Critical) | ความจริงเป็นสิ่งที่ถูกสังคมสร้าง ปรุงแต่งขึ้น ซึ่งมีอิทธิพลของอะไรบางอย่างครอบทับอีกที | ทั้งความรู้และความจริงถูกสังคมสร้างขึ้น และได้รับอิทธิพลจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม | · Marxism
· Queer Theory · Feminism |
· การวิพากษ์
· การวิเคราะห์วาทกรรม · ชาติพันธุ์วรรณา (ethnography) · การวิจัยเชิงปฏิบัติ (action research) · คตินิยม (ideology) · วิจารณ์งานวิจัย(Critique) |
· การวิจัยปลายเปิด (open-ended)
· การสังเกตการณ์ · แบบสอบถาม · การสนทนากลุ่ม (focus group) · อื่นๆ |
ตำแหน่งแห่งที่ของงานวิจัยทางสังคมศาสตร์
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ส่วนใหญ่อยู่ใน 2 บ้านใหญ่ 2 หลังนี้
- Experimental (Positivist) ภาวะวิทยามีลักษณะของสัจนิยมอยู่น้อย (i.e. ความจริงอยู่ตรงนั้นแหนะ), โดยมีญาณวิทยาแบบประจักษ์นิยม (i.e. ฉันต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อเข้าถึงความจริง)
- Postmodernist constructivismภาวะวิทยาแบบแทบจะไม่มีสัจนิยม (i.e. ความจริงเกิดจากการแข่งกันอ้างสิทธิ์ ว่าใครจริงกว่าใคร) และญาณวิทยาแบบสรรค์สร้าง (i.e. เพื่อจะเข้าถึงความจริง ต้องวิเคราะห์การแข่งขัน การอ้างสิทธิ์)
สารน์จากผู้แปล
เนื่องจากในบทความต้นฉบับมีคำศัพท์ทางสังคมวิทยาหลากหลายมาก ผมเลยเลือกแปลเฉพาะคำที่แปลได้ คำไหนแปลไม่ได้ อาจด้วยไม่มีคำแปลในภาษาไทย หรือผมยังเข้าใจไม่เพียงพอ จะไม่แปลนะครับ ผมมีแก้ไข ดัดแปลงบางประโยชน์เพื่อความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นด้วย เลยอาจแตกต่างจากต้นฉบับ และอาจมีบางส่วนที่ไม่ได้ยกมา เพราะเห็นมาไม่จำเป็นเท่าไหร่นัก ผมแนะนำให้อ่านไปพร้อมๆกับต้นทางนะครับ ผิดถูกตรงไหนท้วงผมได้ครับ
อนึ่ง ศัพท์ทางสังคมวิทยาต่างๆในบทความนี้ และทฤษฎีต่างๆผมจะแยกอธิบายในบทความต่อๆไปนะครับ อาจทำทฤษฎีละบทความเลย จะได้ครอบคลุมทั้งหมดครับ